/ 服务

ควรย้ายตัวอ่อนระยะใดดี ระหว่างตัวอ่อน DAY 3 หรือ DAY 5 บลาสโตซีสต์

     การเลี้ยงตัวอ่อน เป็นกระบวนการหลังจากการเก็บเซลล์ไข่และคัดเชื้ออสุจิแล้วนำเซลล์ไข่กับอสุจิมาปฏิสนธิกันจนเป็นตัวอ่อนในห้องแล็ป เรียกว่า Zygoteด้วยวิธีการ ICSI เด็กหลอดแก้ว คือนำตัวอสุจิ 1 ตัว เจาะเข้าไปที่เซลล์ไข่ 1 ใบโดยจะใช้ระยะในการเลี้ยงเป็นตัวอ่อนประมาณ 3-5 วัน

หลังจากเริ่มทำ ICSI (Intra Cytoplasmic Sperm Injection)โดยกระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนต้องใช้นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญด้านเลี้ยงตัวอ่อนในการเพาะเลี้ยงถ้าไม่มีการควบคุมและระมัดระวังเป็นอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญอาจทำให้การใส่ตัวอ่อนไม่ประสบความสำเร็จได้


ระยะของตัวอ่อนมีกี่ระยะ?
Day 1: ระยะไซโกต (Zygote) ภายใน 16 – 20 ชั่วโมงจะมีการตรวจดูว่าตัวอ่อนมี pronuclei ไหมถ้ามีแสดงว่าเซลล์ไข่กับอสุจิปฏิสนธิกันเรียบร้อยสามารถเจริญเติบโตต่อได้


Day 3: ระยะคลีเวจ (Cleavage) หลังจาก 24 ชั่วโมงเป็นต้นไปจนถึง 4 วันจะตรวจดูว่าตัวอ่อนมีการแบ่งเซลล์ดีไหม โดยปกติควรจะมี 8 เซลล์ขึ้นไปในช่วงนี้หากพบว่าตัวอ่อนไม่ค่อยเติบโต นักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญด้านเลี้ยงตัวอ่อนจะมีการเจาะเปลือกตัวอ่อน (Assisted Hatching – AH)เพื่อช่วยให้ตัวอ่อนรับสารอาหารจากน้ำยาที่เลี้ยงได้เต็มที่มากขึ้นและเป็นกระบวนการที่ทำให้เปลือกบางลงเพื่อให้ตัวอ่อนฟักตัวออกมาได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้ยังช่วยให้ง่ายต่อการดึงเซลล์เพียงเล็กน้อยของตัวอ่อนเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์อีกด้วย


Day 5 – 6: ระยะบลาสโตซิสท์ (Blastocyst) ช่วงประมาณ 120 ชั่วโมงหลังผสมจะตรวจดูตัวอ่อนว่าแข็งแรงดีไหมและจะมีการคัดเกรดของตัวอ่อนจากนั้นจึงคัดเลือกตัวอ่อนที่แข็งแรงสมบูรณ์มากที่สุดเพื่อย้ายกลับเข้าสู่โพรงมดลูกต่อไป

ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก - โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 11 อินเตอร์

ที่อยู่ : 185/1 หมู่ 1 ตำบลบางวัว อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา 24130

โทรศัพท์ : 038-500-300 ต่อ 2200 มือถือ : 099-3366297 แฟกซ์ : 038-500-390

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ แสดงเนื้อหาและโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ รวมถึงเพื่อวิเคราะห์การเข้าใช้งานเว็บไซต์และทำความเข้าใจว่าผู้ใช้งานมาจากที่ใด
คุณสามารถอ่านและทำความเข้าใจได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัวและข้อกำหนดในการให้บริการ